ภาวะตับวาย
แพทย์วินิจฉัยภาวะตับวายได้จาก ประวัติอาการต่างๆ ประวัติการใช้ยาต่างๆ พฤติกรรมการใช้ชีวิต แหล่งที่อยู่อาศัย อาชีพการงาน อาหาร น้ำดื่ม สมุนไพร การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด ดูการทำงานของตับและของไต ดูสารภูมิต้านทานของโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ การตรวจภาพตับ เช่น จากอัลตราซาวด์ และบางครั้งอาจจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
อ่านต่อ
วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรค/ภาวะที่พบได้บ่อยมาก พบเกิดได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็ก (พบได้ประมาณ 10% ของโรค/ภาวะนี้) ไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปมักพบในช่วงอายุ 16-35 ปี เป็นโรคพบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายประมาณ 4 เท่า โดยประมาณ 60%ของผู้ หญิงต้องเคยเกิดโรค/ภาวะนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต เป็นโรค/ภาวะที่เกิดซ้ำได้บ่อย โดยพบว่า ประมาณ 50% เมื่อเกิดโรคแล้ว จะเกิดโรคซ้ำภายใน 1 ปี
อ่านต่อ
อ่านต่อ
ลักษณะโรคที่เกิดจากเครื่องปรับอากาศเป็นอย่างไร เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน มีสองลักษณะที่รู้จักในขณะนี้คือ ลักษณะอาการทางคลินิคชัดเจน และทางระบาดวิทยา ได้แก่ โรคลีเจียนแนร์ (ICD-10 A48.1) และโรคไข้ปอนเตียก (ICD-10 A48.2) ทั้งสองลักษณะมีอาการเริ่มต้นด้วย การเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหัว ภายในชั่วโมงหนึ่งวัน ไข้จะสูงและมีอาการหนาวสั่น อุณหภูมิมักจะขึ้นสูงถึง 39-400 o ซ (102-1050 o) มีอาการไอแห้งๆ ปวดท้อง และอุจจาระร่วงเกิดขึ้นตามมา สำหรับโรคลีเจียนแนร์จะพบเอกซเรย์ปอดมีการอักเสบเป็นปื้นหรือจุดขาวๆ ที่อาจเป็นมากขึ้นจนลามไปกินปอดทั้งสองข้างทำให้การหายใจล้มเหลว อัตราตายจากโรคลีเจียนแนร์ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสูงถึงร้อยละ 39 และจะสูงกว่านี้ในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (compromised immunity)
อ่านต่อ
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557
เซลล์-การออสโมซิสและการแพร่ (Cells-Osmosis vs. Diffusion)
สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ แมรี พอฟเฟนรอธ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชาชีววิทยา และในวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง ความแตกต่างระหว่างการออสโมซิสและการแพร่ค่ะ
การลำเลียงสารโดยไม่อาศัยพลังงาน (Passive Transport) คือ การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แบบซึมผ่านได้ (Permeable Membrane) โดยไม่ต้องอาศัยพลังงาน
การแพร่ (Diffusion) และการออสโมซิส (Osmosis) ก็เป็นวิธีการลำเลียงสารแบบนี้ทั้งคู่ค่ะ ต่างกันตรงที่การแพร่ เป็นการลำเลียงสารโดยไม่อาศัยพลังงานผ่านสารละลาย (Solute) อย่างออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนการออสโมซิสนั้นเป็นการลำเลียงสารโดยไม่อาศัยพลังงานผ่านน้ำเท่านั้น
สารจะแพร่ตัวโดยธรรมชาติผ่านเยื่อเมมเบรนที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปสู่ความหนาแน่นน้อยกว่าค่ะ คล้ายๆกับเวลาที่คุณอยู่ในรถเมล์คนแน่นๆล่ะค่ะ บนรถเมล์คนเยอะมาก ไม่มีที่นั่งว่างเลยสักที่ ทุกคนยืนใกล้กันและอัดกันแน่นไปหมด จากนั้นรถเมล์ก็จอดที่ป้าย แล้วผู้โดยสารประมาณครึ่งหนึ่งก็ลงจากรถไป คนที่ยังอยู่บนรถจะยืนเบียดกันอยู่อย่างเดิมหรือเปล่าคะ ไม่หรอกค่ะ ผู้โดยสารที่เหลือบนรถจะเริ่มแพร่กระจายตัวออกไปเองโดยธรรมชาติ และทำให้เกิดสภาพที่ใกล้เคียงความสมดุล (Equilibrium) ที่สุด
สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ แมรี พอฟเฟนรอธ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชาชีววิทยา และในวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง ความแตกต่างระหว่างการออสโมซิสและการแพร่ค่ะ
การลำเลียงสารโดยไม่อาศัยพลังงาน (Passive Transport) คือ การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แบบซึมผ่านได้ (Permeable Membrane) โดยไม่ต้องอาศัยพลังงาน
การแพร่ (Diffusion) และการออสโมซิส (Osmosis) ก็เป็นวิธีการลำเลียงสารแบบนี้ทั้งคู่ค่ะ ต่างกันตรงที่การแพร่ เป็นการลำเลียงสารโดยไม่อาศัยพลังงานผ่านสารละลาย (Solute) อย่างออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนการออสโมซิสนั้นเป็นการลำเลียงสารโดยไม่อาศัยพลังงานผ่านน้ำเท่านั้น
สารจะแพร่ตัวโดยธรรมชาติผ่านเยื่อเมมเบรนที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปสู่ความหนาแน่นน้อยกว่าค่ะ คล้ายๆกับเวลาที่คุณอยู่ในรถเมล์คนแน่นๆล่ะค่ะ บนรถเมล์คนเยอะมาก ไม่มีที่นั่งว่างเลยสักที่ ทุกคนยืนใกล้กันและอัดกันแน่นไปหมด จากนั้นรถเมล์ก็จอดที่ป้าย แล้วผู้โดยสารประมาณครึ่งหนึ่งก็ลงจากรถไป คนที่ยังอยู่บนรถจะยืนเบียดกันอยู่อย่างเดิมหรือเปล่าคะ ไม่หรอกค่ะ ผู้โดยสารที่เหลือบนรถจะเริ่มแพร่กระจายตัวออกไปเองโดยธรรมชาติ และทำให้เกิดสภาพที่ใกล้เคียงความสมดุล (Equilibrium) ที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)